โรคไข้สมองอักเสบที่อาจพบได้ในผู้ป่วย COVID-19

โรคไข้สมองอักเสบที่อาจพบได้ในผู้ป่วย COVID-19 เป็นภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาทจาก ไวรัส COVID-19 ที่ยังไม่ทราบสาเหตุต่อการเกิดที่ชัดเจน

COVID-19- สามมารถก่อให้เกิดสมองอักเสบอักเสบแบบเฉียบพลัน มีรายงานผู้ป่วยรายแรกที่ตรวจพบว่ามีภาวะสมองอักเสบจาก ไวรัส COVID-19

ถือว่าเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ไม่บ่อยจากการติดเชื้อจากไวรัส เช่น จากไข้หวัดใหญ่และการติดเชื้อไวรัสอื่น ๆ ภาวะสมองอักเสษแบบเฉียบพลันชนิด Acute necrotizing encephalopathy (ANE) มีความสัมพันธ์กับการมีการกระตุ้นสารทางระบบน้ำเหลืองไซโตไคน์ (cytokine) ออกมาจำนวนมากในสมอง (cytokine storms) ทำให้เกิดอันตรายต่อเซลล์สมอง ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อ coronavirus อย่างรุนแรง อาจจะก่อให้เกิดกลุ่มอาการ cytokine storms ได้

การวินิจฉัยจากการถ่ายภาพสมองในภาวะภาวะสมองอักเสษแบบเฉียบพลันชนิด Acute necrotizing encephalopathy (ANE) จะแสดงให้เห็นรอยโรคบริเวณสมองส่วน thalamic และจะมีรอยโรค หลายตำแหน่งในบริเวณของสมองทั้งสองข้างทั้งในส่วนผิวของสมองและสมองส่วนลึก

ในผู้ป่วยรายนี้เป็นพนักงานสายการบินหญิงในวัยห้าสิบปลาย ๆ จากมีอาการไข้ และไอหลังจากนั้นมีการเปลี่ยนแปลงของระดับการรู้ตัวโดยมีอาการซึมลงและไม่รู้ตัวเป็นเวลา 3 วัน จากการตรวจทางห้องปฏิบัติการเริ่มแรกเพื่อตรวจหา ไข้หวัดใหญ่ผลเป็นลบ แต่ตรวจพบว่าผู้ป่วยมีผล COVID-19 เป็นบวกโดยการตรวจหาโรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง coronavirus 2 (SARS-CoV-2) ไวรัสนิวคลีอิกกรดนิวคลีอิกจากตัวอย่าง ที่เก็บมาจากโพรงจมูก จึงได้มีการวินิจฉัยว่าผู้ป่วยมีภาวะติดเชื้อ COVID-19

ได้มีการเจาะตรวจน้ำไขสันหลัง จากการวิเคราะห์น้ำไขสันหลัง (CSF) ไม่พบว่ามีการติดเชื้ออื่นๆ เช่น การติดเชื้อจากแบคทีเรีย หรือไวรัสอื่นๆ จากการส่งตรวจน้ำไขสันหลังและผลจากการเพาะเชื้อในน้ำไขสันหลัง แต่ อย่างไรก็ตาม ไม่สามารถที่จะส่งตรวจหา SARS-CoV-2 จากน้ำไขสันหลังได้

จากการตรวจภาพเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง CT brain แบบไม่ฉีดสี พบว่ามีรอยโรคในสมองในบริเวณสมองส่วนลึก thalami ทั้งสองข้าง และจากการตรวจเพิ่มเติมด้วยเครื่องเอ็กซเรย์ คลื่นแม่เหล็กสมอง MRI แสดงให้เห็นว่า บริเวณสมองส่วนลึก Thalami ทั้งสองข้างนี้แสดงให้เห็นว่ามีเลือดออกในสมอง ตัวนี้ นอกจากนี้ก็มีรอยโรคที่มีเลือดออกในสมองอื่นฯทั้งสองข้างที่ medial temporal lobs, Subinsularม ตำแหน่งอื่น ๆ ที่พบได้เช่น ก้านสมอง สมองส่วนซีลีเบลลัม

ผู้ป่วยรายนี้ได้รับการรักษาโดยการให้ยากดน้ำเหลืองซึ่งเป็นยาอิมมูโนโกลบูลินทางหลอดเลือดดำ ในผู้ป่วยรายนี้ไม่สามารถที่จะให้ยาพวกกลุ่มสเตียรอยด์ขนาดสูงได้ซึ่งปกติจะนิยมใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะสมองอักเสบจากเชื้อไวรัสอื่น เนื่องจากกลุ่มยาสเตียรอยด์ขนาดสูงจะมีผลอันตรายต่อการติดเชื้อในปอดได้

จากการศึกษาในหนูทดลอง ที่ได้รับเชื้อ coronaviruses แสดงให้เห็นว่ามีการแพร่กระจายของเชื้อ coronaviruses ไปยังเซลล์ประสาทการดมกลิ่นไปยังสมองโดยตรงหรืออาจจะมาจากปอดไปยังก้านสมองส่วนล่าง “ภาวะการสูญเสียการรับกลิ่นAnosmia เป็นอาการที่พบได้บ่อยใน COVID-19 ซึ่งบ่งบอกถึงการบุกรุกเชื้อ coronaviruses ไปยังเส้นประสาทจมูกโดยตรง อย่างไรก็ตามจะต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อทดสอบว่า เชื้อ coronaviruses สามารถที่จะลุกลามเข้าเส้นประสาทโดยตรงได้จริงหรือไม่

พลตรี ดร.น.พ.โยธิน ชินวลัญช์                                                                                                                                                                                                                                                                     

Reference

  1. Neo Poyiadji et al., Reviews and Commentary Images in Radiology
  • Judy George, Senior Staff Writer, MedPage Today April 1, 2020