แม้ว่าอาการปวดศีรษะเป็นอาการที่พบบ่อยของเนื้องอกในสมอง แต่อาการปวดศีรษะส่วนใหญ่มักจะมีสาเหตุจากอื่นฯ จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่า 50-75% ของคนทั่วไปที่อายุระหว่าง 18-65 ปี รายงานว่าอาจจะมีอาการปวดศีรษะอย่างน้อยหนึ่งครั้งในหนึ่งปี นอกจากนี้องค์การอนามัยโลกระบุด้วยว่า 4% ของประชากรทั่วโลกมีอาการปวดศีรษะแบบเรื้อรัง แต่จากข้อมูลในปี 2559 พบว่ามีผ.ป.เพียง 330,000 คนที่มีมะเร็งในสมองหรือในไขสันหลัง
นั้นแสดงว่าอาการปวดศีรษะส่วนใหญ่ไม่ได้บ่งบอกว่าจะเป็นเนื้องอกในสมอง อาการปวดศีรษะที่เป็นครั้งคราวส่วนใหญ่จะไม่ค่อยเป็นเรื่องฉุกเฉินทางการแพทย์ แต่อย่างไรก็ตามเนื้องอกในสมองสามารถนำไปสู่อาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงและต่อเนื่องได้
ในบทความนี้จะชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างอาการปวดศีรษะทั่วฯไปและที่เกิดจากเนื้องอกในสมอง นอกจากนี้เรายังครอบคลุมอาการอื่น ๆ ของเนื้องอกในสมองที่บ่งว่าควรจะต้องรีบไปพบแพทย์
อาการปวดศีรษะเป็นสัญญาณของเนื้องอกในสมองหรือไม่ ?
จากข้อมูลของสมาคมโรคเนื้องอกสมองอเมริกัน (American Brain Tumor Association) ประมาณ 50% ของ ผ.ป. ที่มีเนื้องอกในสมองจะมีอาการปวดศีรษะ อย่างไรก็ตามเนื้องอกในสมองมักจะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะที่แตกต่างจากอาการปวดศีรษะไมเกรนหรือปวดศีรษะแบบ tension type headache
อาการปวดศีรษะเนื่องจากเนื้องอกในสมองมักจะมีลักษณะดังต่อไปนี้:
• ปวดศีรษะรุนแรงหรือผิดปกติโดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนที่ไม่เคยมีประวัติมีอาการปวดศีรษะรุนแรงหรือปวดศีรษะแบบเรื้อรังมาก่อน
• ปวดศีรษะทวีคูณมากขึ้นหรือปวดศีรษะอย่างรุนแรงในช่วงเช้า
• ปวดศีรษะตอนกลางดึกทำให้ถูกปลุกตื่นจากหลับ
• ปวดศีรษะที่มีอาการมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป
• ปวดศีรษะเป็นต่อเนื่องนานหลายวันหรือหลายสัปดาห์ไม่ดีขึ้นจากการทานยา
• ปวดศีรษะมากขึ้นเมื่อมีอาการไอ เบ่ง หรือ เปลี่ยนตำแหน่งของศีรษะ
• ปวดศีรษะพร้อมกับอาเจียน
แต่อย่างไรก็ตามมีเงื่อนไขและปัจจัยอื่นๆ ที่สามารถนำไปสู่อาการปวดศีรษะที่มีลักษณะคล้ายกันได้ ตัวอย่างเช่น ความผิดปกติของการนอนหลับ เช่น การนอนกัดฟันในขณะหลับ ถาวะนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive sleep apnea) และ ภาวะนอนไม่หลับจะทำให้มีอาการปวดศีรษะในตอนเช้าได้คล้ายกับปวดศีรษะเนื่องจากเนื้องอกในสมอง
อาการปวดศีรษะและอาการอื่นๆที่อาจจะพบได้ในผู้ป่วยที่มีเนื้องอกในสมอง
เนื้องอกในสมองอาจจะทำให้เกิดอาการอื่น ๆ นอกเหนือไปจากอาการปวดศีรษะได้แก่ :
– อาการอ่อนเพลียและเมื่อยล้า
– แขนขาอ่อนแรง
– เบื่ออาหารคลื่นไส้และอาเจียนบ่อย
– น้ำหนักลดที่ไม่ทราบสาเหตุ
– การสูญเสียการทรงตัวและการประสานงานของการเคลื่อนไหว เดินลำบาก เดินเซ
– ปัญหาการมองเห็นการได้ยินหรือการพูด
– อาการชัก
– การเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพหรืออารมณ์
– สูญเสียสมาธิ
เนื้องอกเกิดขึ้นเมื่อ DNA ของเซลล์ที่แข็งแรงเปลี่ยนหรือกลายพันธุ์ในลักษณะที่ทำให้เซลล์เติบโตอย่างรวดเร็ว เนื้องอกในสมองหมายถึงมวลของเซลล์ผิดปกติที่สามารถพัฒนาในพื้นที่ต่าง ๆ ของสมอง เนื้องอกในสมองส่วนใหญ่ก่อตัวขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงบางอย่างใน DNA ของเซลล์มีผลต่อยีนที่ควบคุมการเติบโตและการแบ่งตัวของเซลล์ สามารถที่จะสืบทอดการเปลี่ยนแปลงของยีนที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็ง ส่วนการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมอาจเกิดจากการสัมผัสกับสารบางอย่างจากสิ่งแวดล้อมในระยะยาวซึ่งสร้างความเสียหายต่อ DNA เช่น ควันบุหรี่ รังสี คลื่นแม่เหล็ก สารสารเคมี และสารพิษจากสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
เนื้องอกในสมองอาจเป็นเนื้องอกแบบธรรมดาหืออาจเป็นเนื้องอกที่เป็นมะเร็ง เนื้องอกในสมองทั้งสองชนิดอาจมมีผลเพิ่มความดันภายในกะโหลกศีรษะทำให้ปวดศีรษะ อ่อนเพลียการสั่งงานของสมองผิดปกติและแม้กระทั่งทำให้มมีอาการหมดสติ ชักและโคม่าได้ หากไม่มีการรักษาเนื้องอกในสมองโดยทันท่วงที่จะมมีผลทำให้สมองถูกทำลายได้
อาการปวดหัวผิดปกติชนิดอื่น ๆ
แม้ว่าอาการปวดศีรษะเป็นอาการที่พบบ่อยใน ผ.ป.ที่มีเนื้องอกในสมอง แต่อาการปวดศีรษะส่วนใหญ่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากที่บ่งบอกว่าเป็นเนื้องอกในสมองเสมอไป บุคคลที่มีอาการปวดศีรษะบ่อยหรือรุนแรงอาจมีสาเหตุจากอาการปวดศีรษะไมเกรนหรือปวดศีรษะแบบ tension type headache ได้
มีการจำแนกระหว่างประเภทของความผิดปกติของอาการปวดศีรษะ ประกอบด้วยอาการปวดศีรษะมากกว่า 150 ประเภท ประเภทที่พบมากที่สุด ได้แก่ :
อาการปวดศีรษะไมเกรน
ปวดศีรษะไมเกรน มีผลกระทบต่อผู้คนทั่วโลกประมาณ 1.04 ล้านคน อาการปวดศีรษะไมเกรนมีอาการต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลา อาการปวดนานได้ตั้งแต่ 4 ชั่วโมงถึง 2 วัน ผ.ป.อาจจะมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง ไวต่อแสงและเสียง คลื่นไส้อาเจียน พบว่าประมาณหนึ่งในสามของผู้ที่มีประสบการณ์ปวดศีรษะไมเกรนจะมีอาการนำมาก่อนที่เรียกว่า“ ออร่า” มีอาการได้หลายแบบ เช่น อาการทางสายตา ตาพร่ามัวหรือเห็นแสงจ้า อาการทางร่างกายหรือการพูด ที่จะเกิดขึ้นก่อนที่จะเริ่มมีอาการของปวดศีรษะไมเกรน ตัวอย่างของอาการเหล่านี้ ได้แก่ :
• เห็นไฟกระพริบจุดด่างดำหรือเส้นซิกแซก
• รู้สึกเสียวซ่าหรือมึนงงหรือชาตามใบหน้าร่างกายหรือแขนขา
• พูดไม่ชัด
ปวดศีรษะ Tension type headache
ปวดศีรษะแบบ tension type headache เป็นประเภทปวดศีรษะ ที่พบบ่อยที่สุด อาการปวดศีรษะ เหล่านี้ทำให้เกิดอาการปวดเล็กน้อยถึงปานกลางมักจะปวดที่บริเวณหลังกระบอกตา ขมับ รอบศีรษะ ต้นคอ หรือ ท้ายทอย อาการปวดศีรษะเป็นผลมาจากการเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณศีรษะและลำคอ ปัจจัยที่สามารถกระตุ้นการเกร็งและหดตัวของกล้ามเนื้อในพื้นที่เหล่านี้ ได้แก่ ปวดตา อาการเมื่อยล้า การใช้กล้ามเนื้อคอผิดท่าเป็นเวลานานฯ อดนอนหรือนอนไม่หลับ ความเครียด จากการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์ เป็นต้น
ปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ (Cluster headache)
อาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์เป็นอาการปวดหัวที่รุนแรงและเป็นประจำที่ทำให้เกิดอาการปวดแสบปวดร้อนหรือเหมือนโดนทิ่มแทงบริเวณดวงตาข้างใดข้างหนึ่ง อาการปวดศีรษะเหล่านี้มักเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันและใช้มักจะนานประมาณ 15 นาทีถึง 3 ชั่วโมง โดยมักจะมีอาการอื่น ๆ ร่วมกับอาการปวดศีรษะ เช่น ตาแดงหรือน้ำตาไหล เปลือกตาบวม อาการน้ำมูกไหลหรือคัดจมูก เหงื่อออก อาการวูบวาบตามตัว มีความไวต่อแสงหรือเสียงซึ่งจะทำให้มีอาการปวดศีรษะมากขึ้น อาการปวดศีรษะมักจะเกิดขึ้นเป็นรายวันที่อาจจะเป็นต่อเนื่องอยู่สองสามวันหรืออาจะปวดต่อเนื่องเป็นปี ยังไม่ทราบสาเหตุของการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์
การตรวจวินิจฉัย MRI brain, PET brain, EEG
ควรไปพบแพทย์ทันทีหากพบว่า:
มีอาการปวดศีรษะอย่างฉับพลันและรุนแรง
มีปัญหาการมองเห็น การได้ยิน หรือ การพูดผิดปกติที่ไม่สามารถอธิบายได้
แขนขาอ่อนแรงซีกใดซีกหนึ่งของร่างกายหรือมีการทรงตัวผิดปกติ
การเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพหรือพฤติกรรม
อาการชัก
แพทย์สามารถช่วยวินิจฉัยสาเหตุของอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงจากการซักประวัติของอาการและการตรวจร่างกายรวมถึงตรวจสอบการมองเห็น กำลังของแขนขา การได้ยินและการทรงตัว ในบางกรณีแพทย์อาจทำการสแกน CT หรือ MRI ของสมอง
หากแพทย์พบเนื้องอกในสมองหรือไขสันหลัง อาจะต้องมีการตรวจพิเศษวินิจฉัยเพิ่มเติมหรือการผ่าตัดเพื่อนำตัวอย่างเนื้อเยื่อและส่งไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อทำการวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการจะทำการทดสอบเพื่อกำหนดชนิดและที่มาของเนื้องอกและประเมินผลตอบสนองต่อการรักษาในแต่ละแบบ แพทย์จะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อแนะนำตัวเลือกการรักษาที่ดีที่สุด
พล.ต.ดร.นพ.โยธิน ชินวลัญช์