อัตราที่สูงขึ้นของสมองเสื่อมในผู้หญิงอธิบายได้อย่างไร

การลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนที่เกี่ยวข้องกับวัยหมดประจำเดือนอาจอธิบายได้ว่าทำไมผู้หญิงถึงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer dementia) ได้มากกว่าผู้ชาย ในการศึกษาวิจัยในผู้หญิง 120 คนในภาวะวัยหมดประจำเดือนเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ระดับของเบต้าอะไมลอยด์ (Aβ) ซึ่งเป็นสารที่พบได้ในโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์สูงขึ้น เป็นผลจากการเผาผลาญปริมาณของกลูโคสที่ลดลง การศึกษาในผู้เข้าร่วมวัยกลางคนปกติ 121 คนที่มีอายุระหว่าง 40 ถึง 65 ปี (ผู้หญิง 70%) มีการศึกษาเก็บข้อมูลมากกว่า 12 ปี
“การค้นพบนี้ชี้ให้เห็นว่าปัจจัยของฮอร์โมนที่ลดลงอาจจะใช้ในการทำนายได้ว่าใครจะมีการเปลี่ยนแปลงในสมองที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ “
ผู้เข้าร่วมทั้งหมดได้รับการประเมินทางระบบประสาทวิทยา การตรวจเรื่องความจำ ความสนใจและภาษา ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติครอบครัวของสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ เวลาที่เริ่มมีอาการและปัจจัยเสี่ยง ลักษณะการดำเนินชีวิตส่วนบุคคล เช่น การสูบบุหรี่ การควบคุมอาหาร การออกกำลังกายและกิจกรรมทางปัญญา ความเสี่ยงของหลอดเลือดรวมถึงโรคอ้วน ความดันโลหิตสูง, ไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวานประเภท 2 ข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานของต่อมไทรอยด์และภาวะซึมเศร้า
สถานะวัยหมดประจำเดือน (ก่อนวัยหมดประจำเดือน, วัยหมดประจำเดือนและวัยหมดประจำเดือน) ข้อมูลเกี่ยวกับอาการผิดปกติทางอารมณ์ ภาวะนอนไม่หลับ การเปลี่ยนแปลงความอยากอาหาร เป็นต้น
“ผลลัพธ์จากการศึกษาแสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของสารเบต้าอะไมลอยด์ โดยใช้การตรวจเอกซเรย์ PET scan ในผู้หญิงเข้าสู่ภาวะวัยหมดประจำเดือนอาจเป็นตัวทำนายที่ดีที่สุดสำหรับการเปลี่ยนแปลงสมองที่เกี่ยวข้องกับโรคสมองเสื่อมในผู้หญิง”
พบว่าในผู้ป่วยสูงอายุเพศหญิง ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่พบในผู้ป่วยที่เริ่มเป็นโรคสมองเสื่อมโรคอัลไซเมอร์ ประมาณสองในสามของผู้ป่วยเป็นสตรีวัยหมดประจำเดือนมีสัดส่วนมากกว่า 60% และเกิดเนื่องจากอายุขัยของผู้หญิงที่ยาวนานขึ้นเมื่อเทียบกับผู้ชาย ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบความเสี่ยงมากขึ้น ถ้าผ.ป. มีประวัติทางพันธุกรรมด้วย เช่น ประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์หรือมียีน APOE หรือมีภาวะซึมเศร้า โรคหลอดเลือดสมอง และโรคเบาหวาน ก็จะเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้น ร่วมกับความเสี่ยงที่เกี่ยวกับฮอร์โมน เช่น วัยหมดประจำเดือนและโรคไทรอยด์
นอกจากนี้พบว่าปัจจัยเหล่านี้ก็มีผลป้องกันเกิดโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ เช่นลักษณะการดำเนินชีวิต การงดสูบบุหรี่ การควบคุมอาหารป้องกันโรคอ้วน การออกกำลังกายและมีการบริหารสมองอย่างต่อเนื่องจะมีผลป้องกันการเกิดโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์
                                                                  พลตรี ดร.น.พ.โยธิน ชินวลัญช์
ข้อมูลจาก โลกของสมอง