พันธกิจของการฝึกอบรม/หลักสูตร
แผนกประสาทวิทยา กองอายุรกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า มีหน้าที่หลักในการให้บริการทางอายุรกรรมระบบประสาทที่มีคุณภาพ มาตรฐานระดับสากล โดยให้บริการแก่ทหารและครอบครัว รวมทั้งประชาชนทั่วไป จัดการฝึกศึกษาและการวิจัยทางการแพทย์เฉพาะทางระบบประสาทวิทยา เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการรักษาแก่ผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง โดยมีปรัชญาคือ “คุณภาพมาตรฐาน บริการประทับใจ สามัคคี มีวินัย ใส่ใจบริการ ผลงานล้ำหน้า”
แผนกประสาทวิทยา กองอายุรกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เป็นแหล่งฝึกอบรมและปฏิบัติงานด้านประสาทวิทยา มุ่งเน้นที่จะผลิตประสาทแพทย์ที่มีความรู้ความสามารถในเวชปฏิบัติด้านประสาทวิทยา มีความเป็นมืออาชีพ มีทักษะการสื่อสาร การปฏิบัติงานแบบสหวิชาชีพและสอดคล้องกับระบบสุขภาพของประเทศ มุ่งเน้นการดูแลรักษาแบบองค์รวมโดยยึดถือผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง มีความเพียบพร้อมด้วยความรู้ด้าน วิชาการ คุณธรรมและจริยธรรม เป็นบุคคลที่จะทำประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ สร้างผลงานวิจัยที่มี คุณภาพระดับสากล มีเจตนารมณ์ที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต ปฏิบัติภารกิจตามที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยเหนือได้ อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
วัตถุประสงค์หลักของการฝึกอบรม เพื่อให้แพทย์ที่จบจากการฝึกอบรมเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญใน สาขาและอนุสาขาประสาทวิทยาแล้ว จะต้องมีความรู้ ความสามารถทางโรคระบบประสาทดังต่อไปนี้
1. ดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อการวินิจฉัยได้อย่างดีรวมทั้งทักษะในการทำหัตถการเพื่อการวินิจฉัย และรักษาอย่างถูกต้อง ทำงานได้แบบมืออาชีพ โดยไม่ต้องมีการกำกับดูแล
2.ให้การรักษาและป้องกันได้อย่างเหมาะสม และได้มาตรฐาน โดยไม่ต้องมีการกำกับดูแล
3. มีความรู้ทางประสาทวิทยาศาสตร์ (neuroscience) สามารถอธิบายปัญหา และโรคทางระบบ ประสาท ด้วยความรู้ทางประสาทวิทยาศาสตร์
4. สอน ให้คำปรึกษา และแนะนำเกี่ยวกับปัญหา รวมทั้งการป้องกันโรคแก่แพทย์ นักศึกษา แพทย์ บุคลากรสาธารณสุข และประชาชนได้เป็นอย่างดี
5. สามารถดำเนินการวิจัยและนำเสนอผลงานทางวิชาการอย่างถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์ได้ด้วย ตนเอง
6. ประสานงานกับผู้ปฏิบัติงานในสาขาอื่น ๆ ทางด้านวิชาการและด้านอื่น ๆ แบบสหวิชาชีพได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
7. มีทักษะในการค้นคว้าหาความรู้ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยตนเองอย่างมีวิจารณญาณ และมีเจตนารมณ์และเตรียมพร้อมที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต
8. มีคุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบ เอื้ออาทร และใส่ใจในความปลอดภัยเพื่อการแก้ไขปัญหาและการส่งเสริมสุขภาพ โดยยึดถือผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางบนพื้นฐานของการดูแลแบบองค์รวมและมีเจตคติที่ดีต่อ ผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย ผู้ร่วมงาน เพื่อนร่วมวิชาชีพและชุมชน
9. ผู้เข้ารับการอบรมสามารถจัดสรรเวลาการทำงานและการพักผ่อน เพื่อการดูแลรักษาสุขภาพตนเอง ได้อย่างเหมาะสมและสมดุล